วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การแต่งกายของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน


เพื่อนๆ ค่ะ วันนี้ จะมาแนะนำการแต่งกายของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน ประเทศสุดท้ายแล้วนะค่ะ ได้แก่ ประเทศไทยของเรานั้นเอง มาดูว่าจะสวยแค่ไหน 

ประเทศของเรามี 4 ภาคการแต่งกายแต่ละภาคก็จะไม่เหมือนกัน ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ 

ภาคเหนือ








เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ แม่หญิงล้านนาเอาไว้ว่า

1. ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์
     มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า
ตุงไม่ควรนำมาพาด
4.  ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน


ภาคอีสาน



ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนคือหญิงมักจะนุ่งผ้าซิ่นทอ ด้วยฝ้ายมีเชิงคลุมเลยเข่าไปเล็กน้อย สวมเสื้อแขนสั้น ผู้สูงอายุมักตัดผมสั้นไว้จอน ส่วนผู้ชายไม่ค่อยมีรูปแบบที่แน่นอนนัก แต่มักนุ่งกางเกงมีขาครึ่งน่องหรือนุ่งโสร่งผ้าไหม อย่างไรก็ตามเครื่องแต่งกายดังกล่าวจะพบน้อยลง ในปัจจุบันประชากร วัยหนุ่มสาวจะแต่งกายตามสมัยนิยมอย่างที่พบเห็นในที่อื่น ๆ ของประเทศ แต่ก็สามารถหาชมการแต่งกายของชาวอีสานแบบดั้งเดิมได้ตามหมู่บ้านในชนบท ซึ่งประชากรส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ยังคงแต่งกายแบบดั้งเดิม

ภาคกลาง





การแต่งกายภาคกลาง  การแต่งกายในชีวิตประจำวันทั่วไป ชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้า   ส่วนหญิง จะนุ่งซิ่นยาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว
ลักษณะการแต่งกาย
ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง

ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาว

ครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่อง

ประดับเพื่อความสวยงาม




ภาคใต้







การแต่งกายภาคใต้
             กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่ 

การแต่งกายของชาวใต้ การแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ และรูปแบบ

โดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยใน

ดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้

            กลุ่มเชื้อสายจีน มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ, เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่ 

           กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี










วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การแต่งกายของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน



เพื่อนๆ ค่ะ การแต่งกายของแต่ละประเทศในกลุ่ม

ประชาคมอาเซียน วันนี้ ขอแนะนำ อีก 1 ประเทศ 

ได้แก่ สหภาพพม่า







สหภาพพม่า

พม่า เป็นชาติที่ไทยเรารู้จักกันมานาน ปัจจุบันพม่ามีการปกครองแบบสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยจึงเรียกว่า สหภาพพม่าพม่ามีอาณาเขตใกล้เคียงกับไทย และสามารถ ติดต่อกันได้ทั้งทางบก น้ำและอากาศ สหภาพพม่ามีประชากรเป็นชนเชื้อชาติต่าง ๆ หลายเผ่า และเคยตกเป็นเมืองขึ้น ของอังกฤษ แต่วัฒนธรรมทางด้านศิลปะ ศาสนา และเครื่องแต่งกายก็ยัง มิได้เปลี่ยนแปลงไป 


การแต่งกาย

ชาย สวมเสื้อแขนยาว มีทั้งแบบคอจีน กระดุมผ่าหน้า หรือเสื้อป้าย นุ่งโสร่งลายเล็กๆ มีผ้าพันศีรษะ

หญิง  สวมเสื้อแขนยาวผ่าหน้า มีผ้าพันอกด้านใน วัสดุของผ้าซิ่นจะเป็นผ้าปักดิ้น หรือหากหาผ้าที่มาจากพม่าหรือลักษณะใกล้เคียงได้ก็ดี  ผมเกล้ามวยมีปิ่นปักดอกไม้สวยงาม สวมเครื่องประดับทอง เช่น ต่างหู กำไล สร้อยไข่มุก ฯลฯ

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การแต่งกายของประเทศแต่ละประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน

เพื่อนๆ ค่ะ วันนี้เรายกตัวอย่างการแต่งกายของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน มา 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงค์โปร และประเทศฟิลิปปินส์......จ้า

ประเทศสิงค์โปร


สิงคโปร์ 

การแต่งกาย

สิงคโปร์เป็นสาธารณรัฐตั้งอยู่บนเกาะเล็กปลายแหลมมาลายู มีพื้น ที่ราว 616 ตาราง กิโลเมตร พลเมืองจะมีหลายชนชาติ เช่น จีน มลายู อินเดีย และยุโรป เพราะเป็นเมืองท่าที่สำคัญ การแต่งกายจึงแตกต่างกับชนชาติที่ตนเข้าไปอยู่

การแต่งกายของชาวมลายูในสิงคโปร์ เสื้อใช้ลวดลายและดอกคล้ายโสร่งของอินโดนีเซีย แบบอาจจะเพี้ยนไปบ้าง ใช้ผ้าพื้น เข้มทำตัวเสื้อ มีลวดลายตามรอบคอ สาบ และปลายแขน ส่วน ชายแต่งชุดสากล สำหรับชาวจีน อินเดีย ยุโรป ก็แต่งตามการแต่งกายของแต่ละชาติ เอกลักษณ์ของ ชาวสิงคโปร์ไม่มีศิลปะเป็นของตนเอง แต่สิ่งที่ประทับใจที่สำคัญคือ ความเรียบร้อย มีระเบียบ และสะอาดที่สุดในโลกในสายตาของชาวโลก 



ประเทศฟิลิปปินส์




ฟิลิปปินส์
การแต่งกาย 
ของชาวฟิลิปปินส์ในยุคนั้น นิยมใช้เครื่องประดับกาย ชาวเกาะ วิสายัน ชอบสักตามใบหน้า ร่างกาย และแขนขา ชายหญิงสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำและเพชร พลอย ชาวพื้น เมืองนิยมใส่ปลอกแขน กำไล และสร้อยคอ ก่อนสเปนเข้าครอบครอง สังคมแบ่ง ออกเป็น 3 ชนชิ้น คือ ขุนนาง เสรีชน และทาส

ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 สเปนก็พบฟิลิปปินส์เป็นชาติแรก ต่อมาเกาะทุกเกาะก็ตกอยู่ ในการปกครองของสเปน และได้รับอารยธรรมต่าง ๆ ตลอดจนประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมการ แต่งกาย และการดำเนินชีวิต ส่วนการแต่งกายก็ไม่มีการสวมเสื้อ แต่งกายแบบชาวเกาะ นิยม ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ และสักตามร่างกายดังกล่าวแล้ว

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิลิปปินส์ได้เอกราชตามสนธิสัญญา เหตุการณ์บ้านเมือง ศิลปวัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย ก็มีการผสมผสานกันระหว่างชาวยุโรป เอเชีย และตะวันตก

เครื่องแต่งกายประจำชาติเป็นเสื้อคอกว้างแบบตะวันตก แขนยกตั้งเป็นปีกกว้าง ทำด้วยผ้า บางและแข็งอย่างไหมสับปะรด นุ่งกระโปรงติดกับเสื้อเป็นชุดเดียวกัน ส่วนตามเกาะต่าง ๆ มีการ แต่งกายแบบคล้ายชาวมลายู และอินโดนีเซีย คือ นุ่งโสร่งปาเต๊ะ สวมเสื้อผ้าไหมสับปะรดหรือแพร แขนกระบอกยาวจดข้อมือ มีผ้าพาดบ่า ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาวทำจากใบสับปะรด นุ่งกางเกง แบบสากล

การทอผ้าใยสับปะรดทองฟิลิปปินส์ ทอกันมากกว่า 400 ปี หรือมากกว่า การทอใย สับปะรดเป็นงานที่ละเอียดอ่อนใช้เวลามาก ใยสับปะรดเป็นเส้นใยที่มีความเหนียวดีมาก โดยเฉพาะ เส้นใยของสับปะรดที่ได้จากเมืองอะคลัน



วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การแต่งกายของประเทศแต่ละประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน

"เพื่อนๆ ค่ะ วันนี้เรายกตัวอย่างการแต่งกายของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน มา 2 ประเทศคือ ราชอาณาจักรลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา.....จ้า"

ราชอาณาจักรลาว


ราชอาณาจักรลาว

     ผ้าทอมีบทบาทสำคัญในชีวิตครอบครัวของชาวไท-ลาว ทุกวันนี้พิธีแต่งงานแบบดั้งเดิมของ คนไท-ลาวยังคงใช้เครื่องแต่งกายที่งดงาม ประณีต ชุดเจ้าสาวทอด้วยไหมเส้นละเอียด สอดแทรก ด้วยเส้นเงินเส้นทอง ผ้าเบี่ยง ซิ่นและตีนซิ่น จะมีสีและลวดลายรับกัน เจ้าบ่าวนุ่งผ้านุ่งหรือผ้า เตี่ยวทอด้วยไหมละเอียดสีพื้น อาจะใช้เทคนิคการทอแบบ หมากไมคือการปั่นเส้นใย สวมเสื้อ แบบฝรั่ง มีผ้าพาดบ่าเพื่อเข้าพิธีสู่ขวัญ

การแต่งกาย
ผู้หญิง นุ่ง Patoi (มีลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย) นิยมทำเป็นลาย
          ทาง ๆ เชิงผ้าเป็น สีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็น
          ไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไป
          ไว้ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้


ผู้ชาย นุ่ง Patoi เป็นการนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชิ้น นอก กระดุม
         เจ็ดเม็ด 




ราชอาณาจักรกัมพูชา


ราชอาณาจักรกัมพูชา



        ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง



การแต่งกาย

หญิง นิยมนุ่งผ้าถุงสีดำ เนื้อมัน คาดเข็มขัด ใส่เสื้อสี งานพิธีนุ่งผ้ายก  
          พวกในวังมักนุ่งผ้า โจงกระเบน ไว้ผมตัด ทานหมากจนฟันดำ


ผู้ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อคอปิด ขัดกระดุมห้าเม็ด 











วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแต่งกายของแต่ละประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียน

"เพื่อนๆ ค่ะ การแต่งกายของแต่ละประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน วันนี้ ขอแนะนำ อีก 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศบรูไน และประเทศอินโดนีเซีย จ้า........"

การแต่งกายของปรเทศบรูไน



บรูไน

บรูไน (Brunei) หรือ รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam)ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้  ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้
เขตการปกครอง แบ่งเป็น 4 เขต (districts - daerah) คือ
1. บรูไนและมูอารา
การแต่งกาย
      ผู้หญิง  บรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ผู้หญิงมุสลิมจะสวมผ้าคุมศีรษะในที่สาธารณะ และในสถานที่ราชการ
     ผู้ชายมุสลิม แต่งกายเป็นทางการทั้งในสถานที่ราชการ และที่สาธารณะ คือจะสวมเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่านุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง 


การแต่งกายของประเทศอินโดนีเซีย






อินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิค รวมเกาะใหญ่น้อยราว 3,000 เกาะ ที่สำคัญคือ     สุมาตรา ชวา บาลี ชุลาเวสี (เซลีบิส) กาลมันตัน เวสต์อิเรียน เมืองหลวงคือจาร์กาตา อยู่บนเกาะชวา
การทอผ้าแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะที่อยู่ในเส้นทางการค้าขายติดต่อกับอินเดีย จีน และยุโรป มานาน กว่าร้อยปี ซึ่งความสัมพันธ์นี้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรม ทักษะพื้น บ้านและวัตถุดิบในการผลิต ผ้า ทอของอินโดนีเซียซึ่งผลิตทั้งผ้าฝ้ายพื้น ๆ ผ้าฝ้ายที่วิจิตร ผ้าทอผสมเส้นใยไหม เส้นทองและเส้น เงิน มีชุดแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำถิ่น
การแต่งกาย
     ผู้หญิง สวมเสื้อแขนยาวพอดี คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปเล็กน้อย ยาวปิดสะโพก เข้ากับ โสร่งที่เป็นลวดลาย ใช้สีสันกันเป็นทางบ้างดอกบ้าง ใช้ผ้ายาว ๆ คล้องคอเช่นเดียวกับชาวมาเลเซีย ต่างกันที่คอเสื้อ ชาวมาเลเซียจะเป็นคอยู และเสื้อยาว

     ผู้ชาย แต่งชุดสากล ผูกไทด์ลายผ้าปาเต๊ะ สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ





วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแต่งการของแต่ละประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน

"เพื่อนๆ มาดูกันนะค่ะ ว่าการแต่งกายของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน เขามีการแต่งตัวกันแบบไหนบ้าง วันนี้เรายกตัวอย่างมา 2 ประเทศก่อนนะค่ะ "


การแต่งกายของประเทศมาเลเซีย




มาเลเซีย

มาเลเซียเป็นชื่อใหม่ (เมื่อ ค.ศ. 1963) ของประเทศมาลายู เมืองหลวง คือ กัวลาลัมเปอร์ สหพันธ์
มาเลเซีย
เป็นดินแดนที่มีชนหลายภาษาอาศัยรวมกัน เช่น มลายูแท้ จีน อินเดีย
ปากีสถาน ยูเรเซียน ลังกา อินโดนีเซีย และชาวเขา

การทอผ้าในมาเลเซียมีมากแถบกลันตัน และตรังกานู ซึ่งเป็นผ้าที่ทอโดยสอด
ไหมเงิน และทองลงใน    

เนื้อไหมตามแบบผ้าทอในอินเดีย พวกช่างทอผ้าในมาเลเซียเป็นพวกที่อพยพ
มา จากเกาะสุมาตรา

การแต่งกาย แตกต่างกันตามประเพณีนิยมของแต่ละเชื้อชาติ

ผู้หญิง นุ่งโสร่งปาเต๊ะสีสดมีลวดลายดอกดวงงาม สวมเสื้อคอยูแขนยาวถึงข้อ
มือ ปล่อยชายเสื้อไว้นอกโสร่ง บางคนจะมีผ้าบาง ๆ คลุมศีรษะ คลุมไหล่ ชาว
มาลายูชอบใช้เสื้อผ้า สีสดใสมีลวดลาย ใบไม้ดอกไม้โต ๆ สลับสีกัน ชาวจีน
แต่งกายแบบจีนเรียกว่า กี่เพ้าหรือ ฉ่งชำทำด้วยผ้าเป็นดอกดวง ฉูด
ฉาด
ผู้ชาย นุ่งโสร่งเป็นตา และสวมเสื้อแขนยาว บางคนสวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะ
คนแก่มัก มีผ้าห้อยไหล่



การแต่งกายของประเทศเวียดนาม





เวียดนาม

ตามข้อตกลงของการประชุมการสงบศึกษาในอินโดจีนที่กรุงเจนิวา เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้ แบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.  เวียดนามเหนือ อยู่ที่เมืองเว้ ปกครองระบบคอมมูนิสต์
2.  เวียดนามใต้ มีเมืองไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวง ปกครองระบบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดี เป็นประมุข
ชาวเมืองไซ่ง่อนได้รับประเพณีต่าง ๆ มาจากแต่ครั้งฝรั่งเศสปกครอง เช่น การหยุดพักนอน กลางวันในวันทำงาน การก้มศีรษะและโค้งตัวเวลาพบปะกันจับมือกัน ที่เหมือนไทยคือ ยังคง รับประทานหมากให้ฟันดำ แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว

ผู้หญิง นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า 2 ข้าง สูงแค่เอว พวกทำงานหนักจะสวมเสื้อสั้น มีกระเป๋า 2 ใบ แขนจีบยาว บางแห่งทางเหนือสวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า ผม ยาวเกล้ามวย สวมงอบสานด้วยใบลานทรงรูปฝาชี หรือใช้ผ้าสามเหลี่ยมคลุมศีรษะ ดึงชาย 2 ข้างมาผูกใต้คาง ถ้าเป็นทางเหนือแถวฮานอย ใช้ผ้าดำแถบยาวหุ้มผมซึ่งถักเปียไว้ให้มิด แล้วโอบพันศีรษะ ปัจจุบันนิยมตัดผมสั้น และดัดผมมากขึ้น สวมรองเท้าเกียะส้นสูง พ่นสีต่าง ๆ รองเท้าสตรีส้นรองด้วยพื้น ยาง คาดหลังด้วยหนังหรือพลาสติกสีต่าง ๆ

ชาย แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว
ในเวียดนามใต้มีชาวเขาเผ่าหนึ่งเรียกว่า พวกม้อย จะนุ่งผ้าสั้น ๆ ปกปิดร่างกายแต่เฉพาะ ท่อนล่างคล้ายนุ่งใบไม้ ปัจจุบันหญิงสวมเสื้อ นิยมเจาะหูสอดไม้ซึ่งเหลาแหลม ๆ สวมกำไลคอ

          จากประวัติความเป็นมาจะเห็นว่าชาวเวียดนามมีการแต่งกายผสมผสานกันมีทั้งไทยมุง หรือ อ้ายลาวระยะแรก ปนของจีนบ้าง เช่น ลักษณะของเสื้อที่ป้ายซ้อนกันบริเวณอก คอปิด แขน ยาว แต่แตกต่างจากไทยและจีนตรงที่การใช้ผ้า ถึงแม้ว่าจะใส่กางเกงแล้ว ยังนิยมสวมเสื้อผ้าบาง ที่เปิดจนถึงเอวทั้ง 2 ข้าง ให้เห็นรูปทรงและสัดส่วนที่งดงาม ชาวเวียดนาม ได้ชื่อว่า เป็นชาติมี ผิวพรรณงามที่สุดในโลกอีกด้วย

          
ชนเผ่าไทในเวียดนามจะมีการทอผ้าออกมางดงามมาก ซึ่งจะมีลวดลายบนผืนผ้าทอที่ แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละลายนั้น มีความหมายและมีเทคนิคการทอที่แตกต่างกันอย่าง เช่น ลาย ดาวแปดแฉก จะเป็นลายดาวแปดแฉกตรงกลางของผ้า หรือในผ้าเปียว (ผ้าโพกศีรษะ) และยังมี ลายเส้นจุด (ลายคลื่น) ลายฟันเลื่อย (ลายหยักหงอนไก่) ลายขอ (ลายกูด) ลายเหรียญ (ลายจำ หลอด) ลายรูปหัวใจ (ลายหมากจุ้ม) เป็นต้น ลวดลายต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะปรากฏอยู่บนผืน ผ้าแล้วยังปรากฏในเครื่องปั้นดินเผา และกลองสำริดด้วย